การบริหารเงินสด

**เงินสดในที่นี้จะกล่าวรวมถึง เงินสดและเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม**

ทำไมต้องบริหารเงินสด

เพราะเงินสดมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพคล่องของกิจการ หากเงินสดขาดมือจะส่งผลกระทบต่อการหมุนเงินเพื่อการซื้อสินค้า การจ่ายชำระหนี้ การจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ จนอาจทำการดำเนินการของกิจการหยุดชะงักได้

หลักการที่ดีในการบริหารเงินสด มีดังนี้

  1. แยกเงินสดส่วนตัวออกจากเงินสดของกิจการ เพื่อป้องกันการใช้เงินสดของกิจการผิดประเภท
  2. กำหนดเงินเดือนให้กับเจ้าของกิจการ เพื่อป้องกันการนำเงินสดของกิจการมาใช้จ่ายส่วนตัว
  3. กำหนดให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เจ้าของกิจการได้ออกเงินส่วนตัวไปก่อนอย่างมีระบบ เช่น กำหนดเบิกเงินทุก 15 วัน เป็นต้น
  4. จัดทำรายรับรายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้ทราบสถานะการดำเนินงานของกิจการ เช่น ปัจจุบันกิจการมีผลการดำเนินงานเป็นกำไรหรือขาดทุน กิจการมีรายได้เท่าไหร่ ต้นทุนและรายจ่ายมากเกินไปหรือไม่ เป็นต้น สถานะการดำเนินงานดังกล่าวอาจช่วยเตือนผู้ประกอบการได้หากกิจการกำลังจะขาดสภาพคล่อง
  5. กันเงินทุนสำรอง สำหรับไว้ใช้ในช่วงที่ขาดสภาพคล่อง หรือใช้สำหรับการลงทุนใหม่ๆที่อาจมีขึ้น
  6. กำหนด credit term ให้กับผู้ซื้อ (ซื้อเงินเชื่อ) สินค้าให้สั้นลง เพื่อนำเงินสดมาหมุนในกิจการให้เร็วขึ้น
  7. ส่งเสริมการขายให้เกิดการซื้อสินค้าเป็นเงินสด เช่น ซื้อเงินสดจะได้ของแถม หรือซื้อเงินสดจะได้ส่วนลด 2% เป็นต้น
  8. ในช่วงเวลาที่กิจการยังไม่มั่นคงมากนักไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ยาก เช่น การซื้อที่ดิน เป็นต้น
  9. หากต้องการลงทุนให้ลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง เช่น เงินลงทุนระยะสั้นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เงินฝากประจำระยะ 3 – 6 เดือน ตราสาทุนที่มีสภาพคล่องสูง เป็นต้น
  10. วางแผนสำหรับเงินทุนสำรอง เช่น การเพิ่มทุน หรือ การกู้ยืมเงิน เป็นต้น